MENU
TH EN

ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.005 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท (ต่อ 2)

Title Thumbnail & Hero Image: ภาพเขียนที่ม้วนแบบ "ปธาน" แสดงเรื่องเล่าในมหาภารตะ พรรณนาถึง พระสรัสวติ; (ที่ราบสูง) เดกกัน (ทางตะวันตกและใต้ของอินเดีย), คศว.ที่ 19-20, บริติชมิวเซียม, ที่มา: https://hinduaesthetic.medium.com, วันที่เข้าถึง 16 เมษายน 2566.
ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 1.005 - ยุคพระเวท: บทสวดแห่งฤคเวท (ต่อ 2)
First revision: Apr.15, 2023
Last change: May 24, 2023
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
89 (ต่อ)
 
VI
นวโน้มแนวคิดเอกเทวนิยม

       ดังที่เราจะเห็นจากการอภิปรายเกี่ยวกับอรรถรเวท แนวคิดที่เป็นตำนานนอกขอบเขตของโลกชาวอารยัน ที่อยู่ในระดับความคิดที่แตกต่างกันเข้ามาในวิหารแห่งพระเวท. เหล่าทวยเทพและเทพีที่แน่นขนัดนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเหนื่อยล้าแก่สติปัญญา. ดังนั้นแนวโน้มจึงเกิดขึ้นเร็วมากในการที่จะระบุเทพเจ้าองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่ง หรือรวบเหล่าทวยเทพเข้าไว้ด้วยกัน.


90
มีความพยายามในการจัดหมวดหมู่ทำให้เทพเจ้าเหลือเพียงสามวง คือ พื้นดิน ท้องฟ้า และอากาศ. บางครั้งเราก็เรียกเทพเจ้าเหล่านี้ว่า 333 หรือ การรวมกันของสามที่เป็นตัวเลข.1. ทวยเทพจะถูกอัญเชิญเป็นคู่เมื่อทำหน้าที่เหมือนกัน. บางครั้งก็นำมารวมเข้าด้วยกันเป็น วิศเวเทพ01. หรือแนวคิดเกี่ยวกับ (การรวมครอบคลุมทั้งหมดของ) เหล่าเทพเจ้า. แนวโน้มในการจัดระบบนี้เป็นด้านปลายของธรรมชาติในลัทธิเอกเทวนิยม ซึ่งตรงไปตรงมามากกว่า และ (เทียบกับแนวคิดเดิมที่) เทพีขัดขวางกันเอง.
       ลัทธิเอกเทวนิยมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับความคิดที่แท้จริงเกี่ยวกับพระเจ้า. สิ่งสูงสุดมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น. เราไม่สามารถมีสองสิ่งสูงสุดและไม่จำกัดได้. ทุกคำถามได้ถามว่าพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างพระเจ้าองค์อื่นด้วยหรือไม่. พระผู้เป็นเจ้าที่ถูกสร้างขึ้นนั้น ไม่ใช่พระเจ้าเลย. ด้วยความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของโลกและธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า. เหล่าทวยเทพจึงมีแนวโน้มที่จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว. การรับรู้ถึงความเป็นเอกภาพที่เกิดขึ้นในแนวคิดของฤทธา เป็นการทำงานเพื่อสนับสนุนลัทธิเอกเทวนิยม. ทว่าปรากฎการณ์ที่หลากหลายของธรรมชาตินั้น มีความต้องการทวยเทพหลายองค์ ความกลมกลืนของธรรมชาติก็ไม่ควรต้องการเทพเจ้าองค์เดียวที่โอบรับทุกสิ่งที่เป็นอยู่หรือ. ความเชื่อถือในกฎธรรมชาติ นั่นหมายถึงความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว. ความก้าวหน้าของความคิดนี้บ่งบอกถึงการเป็นอัมพาตของความเชื่อในโชคลาง. ระบบธรรมชาติที่เป็นระบบระเบียบจะไม่มีที่ว่างสำหรับการแทรกแซงที่น่าพิศวงซึ่งความเชื่อโชคลางและความคิดที่สัยสนเพียงลำพังเพื่อค้นหาสัญญาณของการนับถือพระเจ้าหลายองค์. ในการบูชาพระวรุณนั้น เรามีแนวทางที่ใกล้เคียงที่สุดในการนับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว. ด้วยคุณลักษณะทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ อาทิ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความชอบธรรม และแม้แต่ความสงสารก็ถูกกำหนดไว้ที่พระองค์. มีการเน้นย้ำในด้านที่สูงส่งกว่าและอุดมคติมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไปถึงการปราบหรือการละเลยเชิงเปรียบเทียบของด้านโดยรวมหรือด้านที่เป็นวัตถุ. พระวรุณเป็นเทพเจ้าที่มนุษย์และธรรมชาติ ทั้งโลกนี้และทั้งอื่น ๆ ต่างล้วนเป็นเจ้าของ. พระองค์มิได้สนพระทัยเพียงเฉพาะแต่ความประพฤติภายนอกเท่านั้น แตยังทรงห่วงใยต่อความบริสุทธิ์ภายในของชีวิตอีกด้วย. ความต้องการโดยปริยายของจิตสำนึกของศาสนาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวได้แสดงออกในสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะว่าเป็นลัทธิที่อยู่นอกศาสนา (และความเชื่อตามที่ปรากฎใน) คัมภีร์พระเวท.
หมายเหตุ การขยายความ

01. วิศเวเทพ (Viśve devāḥ - विश्वेदेव) หมายถึง การกำหนดที่ใช้เพื่อกล่าวถึงเทพองค์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวททั้งหมด นอกจากนี้ยังหมายถึงการจำแนกประเภทของเทพในคัมภีร์ปุราณะโดยเฉพาะอีกด้วย  วิศเวเทพบางครั้งถูกมองว่าเป็นการรวมตัวของทวยเทพที่ครอบคลุมมากที่สุด เป็นการจำแนกประเภทที่ไม่มีการระบุเทพใด ๆ, เสริมจาก: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 16 เมษายน 2566
---------------

1. ดูใน ฤคเวท บรรพที่ 3 สรรคที่ 9. 9.

 
91
เป็นไปตามคำกล่าวของมัคส์ มึลเล่อร์ ผู้บัญญัติศัพท์นี้ (ลัทธิเอกเทวนิยม) การบูชาทวยเทพหลายองค์นั้น ในทางกลับกันก็ราวกับเป็น (การบูชา) เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นเพียงเทพเจ้าองค์เดียว. แต่การวางตำแหน่งทางความคิดทั้งหมดนั้นมีความขัดแย้งกันในเชิงตรรกะ โดยที่หัวใจได้แสดงวิถีที่ถูกต้องแห่งความก้าวหน้าและมีความเชื่อที่แย้งกันอยู่. เราไม่สามารถมีเทพเจ้าหลายองค์ได้ ด้วยเพราะจิตสำนึกทางศาสนา (ของเรา) นั้นต่อต้านความมีพระผู้เป็นเจ้าหลายองค์. (การมี) ลัทธินอกศาสนานั้น เป็นการรวมกลุ่มโดยไม่รู้ตัวไปสู่ลัทธิเอกเทวนิยม. ด้วยจิตใจที่อ่อนแอของมนุษย์ก็ยังคงแสวงหาเป้าหมาย (และที่พึ่ง) อยู่. คัมภีร์พระเวทของชาวอารยันนั้น ก็ตระหนักรู้ได้ถึงความลึกลับขั้นุสุดยอดและความไม่เพียงพอต่อแนวคิดที่แพร่หลายนี้ (ลัทธิเอกเทวนิยม). เหล่าทวยเทพที่ได้รับการบูชาทรงยืนเคียงข้างกัน แม้ว่าในขณะนี้จะมีเทพเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ดำรงตำแหน่งสูงสุด. พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวจะไม่ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าองค์อื่น ๆ . แม้แต่เทพขั้นรองลงมาในบางครั้งก็ยังได้รับตำแหน่งสูงสุด. ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความทุ่มเทของกวีและสิ่งพิเศษในมุมมองของกวีเอง. "พระวรุณทรงเป็นสรวงสวรรค์ พระวรุณทรงเป็นพื้นพสุธา พระวรุณทรงเป็นห้วงจักรวาลและเป็นทั้งสิ้นนอกเหนือไปจากนี้." บางครั้งพระอัคนีก็เป็นทวยเทพทั้งหมด ในขณะที่เทพแต่ละองค์ดูเหมือนจะเป็นภาพถ่ายรวมหมู่ของบรรดาทวยเทพทั้งหลาย. การจำนนของมนุษย์ต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญของประสบการณ์ทางศาสนา ซึ่งเป็นไปได้กับพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น. ดังนั้นลัทธินอกรีตจึงดูเหมือนว่าเป็นผลมาจากตรรกะของศาสนา มันไม่ได้เป็นไปตามที่บลูมฟิลด์เสนอว่า "ลัทธิพหุนิยมเริ่มเย็นชาในการรับใช้ (พระผู้เป็นเจ้า) และเข้มงวดไร้ความปรานีในความแตกต่างซึ่งนำไปสู่การฉวยโอกาสในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทุกองค์ต่างถือคทาแต่ไม่มีองค์ใดรักษามันไว้."1.
       เมื่อเทพแต่ละองค์ถูกมองว่าเป็นผู้สร้างและมีคุณลักษณะของการเป็นพระวิศวกรรม ผู้สร้างโลก และพระประชาบดี01. เจ้าแห่งสรรพสัตว์ เป็นเรื่องง่ายที่ละทิ้งคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ และสร้างเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ร่วมกันแทน โดยเเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเทพเจ้าหลายองค์แล้ว ก็จะมีแนวคิดที่คลุมเครือและสับสนเท่านั้นและมิใช่บุคคลจริง ๆ .
       อุดมคติทีละน้อยของความคิดที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าตามที่ได้เปิดเผยในลัทธิพระวรุณนั้น ตรรกะของศาสนาที่มีแนวโน้มน้อมนำที่จะให้เหล่าทวยเทพไหลรวมเข้าหากัน ลัทธินอกศาสนาที่บ่ายหน้าไปในทิศทางของการเป็นเอกเทวนิยม (การนับถือพระเจ้าองค์เดียว) แนวคิดของฤทธาหรือความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติและแรงกระตุ้นที่จะจัดระบบจิตใจของมนุษย์ - ทั้งหมดนี้ได้ช่วยให้เกิดการแทนที่ของลัทธิมานุษยวิทยาที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ โดยลัทธิเอกเทวนิยมทางจิตวิญญาณแทน.

หมายเหตุ การขยายความ
01. พระประชาบดี หรือ พระประชาปติ (Prajāpati - प्रजापति) หมายถึง 'เจ้าแห่งสรรพสัตว์' เป็นเทพเจ้าฮินดูสมัยพระเวท ในวรรณคดีและคติยุคหลัง พระประชาบดีมักถูกอธิบายและระบุด้วยว่าเป็นพระผู้สร้าง คือพระพรหม แต่นามนี้ยังหมายความรวมถึงเทพเจ้าต่าง ๆ อีกหลายองค์ ขึ้นอยู่กับข้อความอันระบุที่ปรากฏนั้น ๆ ตั้งแต่การเป็นเทพเจ้าผู้สร้างไปจนถึงเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เช่น พระวิศวกรรม พระอัคนี พระอินทร์ พระทักษะ และเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมากมาย สะท้อนจักรวาลวิทยาฮินดูที่หลากหลาย ในวรรณคดีคลาสสิกและยุคกลาง ประชาบดีมีคติทางอภิปรัชญาที่เรียกว่าพรหมันในฐานะประชาบดี-พรหมัน (สวยัมภู พราหมัณ) หรืออีกทางหนึ่งคือพราหมณ์อันอธิบายว่าเป็นรูปผู้ที่มีปรากฏรูปแรกเริ่มก่อน คือ พระประชาบดี บทบาทของพระองค์อีกประการในศาสนาฮินดูคือ เป็นบิดาของชายาพระพิฆเนศทั้งสองนาง คือ นางสิทธิและนางพุทธิ พระองค์ยังปรากฏบทบาทอันเป็นที่รู้จักในธชัคคปริตรของศาสนาพุทธ และทรงเป็นสัญลักษณ์ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสถาบันพระประชาบดีของกระทรวงในประเทศไทย, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง 25 เมษายน 2566.
---------------
1. ศาสนาแห่งพระเวท. หน้าที่ 199.


92
ในช่วงเวลานี้ นักพยากรณ์แห่งศาสนาพระเวทได้ให้ความสนใจที่จะค้นหาสาเหตุเดียวที่มีการรังสรรค์เอกภพ ซึ่งตัวเอกภพเองมิได้ถูกสร้างและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง. วิธีเดียวในการสร้างลัทธิเอกเทวนิยมดังกล่าวได้ก็คือ การให้เหล่าทวยเทพอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเทพที่อยู่สูงกว่าหรือควบคุมดวงวิญญาณของเหล่าทวยเทพ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์กำหนดการทำงานของเหล่าเทพเจ้าที่ต่ำศักดิ์เอาไว้. กระบวนการนี้ได้ตอบสนองความต้องการที่มีเทพเจ้าองค์เดียว และยังช่วยให้พวกเขารักษาความต่อเนื่องกับอดีตได้ ความคิดของชาวอินเดียไม่ว่าจะกล้าหาญและจริงใจเพียงใด ก็ไม่เคยแข็งกระด้างและหยาบคาย. แนวความคิดของชาวอินเดียเช่นนี้จะไม่สนใจว่าจะเป็นที่นิยมหรือไม่ และมักจะไม่มีการประนีประนอมใด ๆ ทว่าตรรกะที่ไร้ความปรานีเช่นนี้ ได้กลายมาเป็นบรมครูที่อิจฉาและระแวงมีความคิดที่จะล้างแค้นเอาคืน ด้วยเหตุนี้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในปัจจุบันจึงหมายถึงกลุ่มปรัชญา ศาสนา นิทานปรัมปรา และเวทมนตร์จำนวนมากที่หลากหลายแตกต่าง. มีเทพเจ้าหลายองค์ถือรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปตามจิตวิญญาณอันเป็นสากล. เหล่าทวยเทพนี้จะปกครองในขอบเขตของตนภายใต้อำนาจสูงสุด.อำนาจของเหล่าเทพได้ถูกจัดแบ่ง มอบหมายออกไป และการปกครองของทวยเทพนี้เป็นเพียงระดับอุปราช (ระดับรอง ๆ ) แต่ไม่มีความเป็นรัฐาธิปัตย์. ดังนั้นเหล่าทวยเทพแห่งการบูชาตามธรรมชาติที่สับสนก็กลายเป็นพลังแห่งจักรวาลซึ่งการประกอบกิจพิธีถูกควบคุมอยู่ในระบบที่เป็นหนึ่งเดียว. แม้แต่พระอินทร์และพระวรุณก็กลายเป็นเทพประจำในหน่วยย่อย. ตำแหน่งสูงสุดในระยะหลังของฤคเวทนี้จะตกเป็นของพระวิศวกรรม.1. พระองค์ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าที่มองเห็นทุกสรรพสิ่ง ทรงมีพระเนตร พระพักตร์ พระกร พระบาท ที่ช่วยรังสรรค์สวรรค์และโลก ด้วยพระกรและปีกของพระองค์ ทรงรับรู้เรื่องราวในโลกทั้งมวล ทว่า (ซับซ้อน) เหนือความเข้าใจของปุถุชน. ยังมีการอ้างว่าพระพฤหัสปติเป็นเทพในตำแหน่งสูงสุดอีกด้วย.2.  ในหลาย ๆ แห่งก็กำหนดให้พระประชาบดี เป็นเทพแห่งสรรพสัตว์.3.  ส่วนพระหิรัญยครรภ์ทรงเป็นเทพแห่งทองคำ ถือกำเนิดขึ้นตามพระนามขององค์เทพสูงสุด ซึ่งมีการอธิบายว่าทรงเป็นเทพองค์เดียวในทุกสิ่งที่มีอยู่.4.

พระวิศวกรรม (ศีรษะโขนไทย), ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง 7 พฤษภาคม 2566.
 


VII
ลัทธิที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว เปรียบเทียบกับ ลัทธิที่เชื่อว่ามีเพียงปัจจัย

       แม้ในสมัยที่มีบทสวดพระเวท เราไม่เพียงแต่มีจินตนาการและความคิดที่เพ้อฝันเท่านั้น แต่ทว่ายังมีความคิดที่จริงจัง
---------------

1. ดูบรรพที่ 10 สรรคที่ 81. 82.
2. ดูบรรพที่ 10 สรรคที่ 72.
3. ดูบรรพที่ 10 สรรคที่ 81. 43. บรรพที่ 10 สรรคที่ 189. 4; ศตปถพราหมณะ {ได้อรรถาธิบายในยชุรเวทขาว คือ ศุกล} บรรพที่ 6 สรรคที่ 6. 8. 1-14; บรรพที่ 10 สรรคที่ 1. 3. 1.
4. บรรพที่ 10 สรรคที่ 121.

 
93
และการสอบถามที่เกิดจากการที่เรามักพบอารมณ์ตั้งคำถามที่ยืนยันตัวตน. ความจำเป็นที่จะต้องตั้งสิ่งที่ถือเป็นหลักอันเป็นเทพเจ้าหลายองค์นั้น เกิดจากแรงกระตุ้นของจิตใจ ซึ่งพยายามทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ได้รับมา. "ในยามราตรีนั้น ตะวันอยู่ไหนเล่า?" "ในยามทิวา หมู่ดาวอยู่ไหนเล่า?" "ทำไมพระอาทิตย์ไม่ตกลงมา?" "ในสองสิ่งนี้ ระหว่างราตรีกับทิวา อย่างไหนมาก่อน อย่างไหนอยู่ทีหลัง?" "พระพายนั้นมาจากไหนหนอและจะพัดไปหนใด?"1 ด้วยคำถามเช่นนี้ จากความรู้สึกเกรงขามและพิศวง อันเป็นต้นกำเนิดของวิทยาศาสตร์และปรัชญาทั้งหมด. โดยสัญชาตญาณแล้ว เราได้เห็นการรวมกลุ่มขององค์ความรู้ที่เผยให้เห็นในทุกรูปแบบและจินตนาการ. ทวยเทพหลายองค์ถูกหยาม. ความโหยหาของหัวใจมนุษย์ไม่สามารถทำให้เหล่าเทพเจ้าที่มีพหุลักษณ์พอใจได้. ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเทพเจ้าองค์ไหนมีจริง. กัสเม ดีไวย หะวิษา วิทีม (कस्मै देवाय हविषा विधेम) "เราจะถวายบูชาแด่เทพเจ้าองค์ใด"2. ต้นกำเนิดอันต่ำต้อยของเทพเจ้านั้นดูจะจดวางและระบุเครื่องหมายไว้แล้ว. เทพเจ้าองค์ใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินอินเดีย และบางองค์ก็หยิบยืมมาจากชนพื้นเมือง. การสวดอ้อนวอนเพื่อให้เราเลื่อมใสนั้นเป็นไปไม่ได้ ในช่วงเวลาที่ศรัทธามีความมั่นคงไม่สั่นคลอน3. ความสงสัยลอยล่องอยู่ในอากาศ. การดำรงอยู่และอำนาจอันสูงส่งของพระอินทร์ถูกตั้งคำถาม4. เหล่านาสติกะ01. หรือวิญญูชนที่ปฏิเสธ (การดำรงอยู่ของพระเจ้า) ที่กำลังวุ่นวายอยู่กับงานเพื่อละทิ้งสิ่งทั้งปวงอันเป็นเปลือกกระพี้แห่งความเท็จ. บทสวดถูกส่งไปถึงเทพเจ้าที่ไม่รู้จัก เรามาถึง "พลบค่ำแห่งทวยเทพ" ซึ่งพวกเขากำลังจะจากไปอย่างช้า ๆ . ใน (ยุค) คัมภีร์อุปนิษัท แสงโพล้เพล้ก็กลายเป็นย่ำค่ำ และเทพที่แท้จริงองค์นั้นก็หายไป แม้แต่ผู้ที่ยังเฝ้าฝันถึงอดีต. กระทั่งเทพองค์เดียวที่ยิ่งใหญ่ในยุคลัทธิเอกเทวนิยม (ที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) ก็ไม่รอดพ้นจากการวิพากษ์วิจารณ์. จิตใจของมนุษย์มิได้พึงพอใจกับเทพยดาที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาให้ศักดิ์สิทธิ์. มีหรือที่เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าอีกองค์หนึ่ง คำถามนี้คงไม่ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครถาม. "ใครบ้างที่ได้เห็นบุตรหัวปี ในเมื่อผู้ไม่มีกระดูกได้ให้กำเนิดบุตรที่มีกระดูก ไหนเล่าคือชีวิต เลือด ตัวตนของจักรวาล ใครบ้างที่จะเข้าไปถามผู้ที่พอรู้?"5. มันเป็นปัญหาพื้นฐานของปรัชญา. ชีวิตหรือสารัตถะของจักรวาลคืออะไร ลำพังความเชื่อเพียงอย่างเดียวมิอาจทำให้บังเกิดได้. เราต้องรู้สึกหรือสัมผัสกับความเป็นจริงทางวิญญาณ.
หมายเหตุ การขยายความ

01. นาสติกะ (nāstika - नास्तिका) ตรงข้ามกับอสติกะ (āstika - आस्तिक), นาสติกะ คือบรรดาผู้ปฏิเสธทุกคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องของเหล่าอสติกะ พวกเขาไม่เชื่อในการมีอยู่ของวิญญาณหรือตัวตน ไม่เชื่อในพระเจ้า หรือพวกอเทวนิยม.
---------------
1. ฤคเวท บรรพที่ 1 สรรคที่ 24. 185.
2. บรรพที่ 10 สรรคที่ 121.
3. บรรพที่ 10 สรรคที่ 151.
4. บรรพที่ 10 สรรคที่ 86. 1; บรรพที่ 7 สรรคที่ 100-3; บรรพที่ 2 สรรคที่ 12. 5.
5. ฤคเวท บรรพที่ 1 สรรคที่ 4. 164.



94
ด้วยคำถามคือ "ใครได้เห็นบุตรหัวปีบ้าง?"1. จิตที่แสวงหาไม่ได้สนใจกับความสะดวกสบายและความสุขส่วนตัวมากเท่าความจริงแท้. ไม่ว่าคุณจะมองพระผู้เป็นเจ้าด้วยความเถื่อนดิบว่าเป็นผู้ที่ขี้โมโหหรือโกรธเคือง หรือมองว่าเป็นผู้ที่มีอารยธรรมที่มีความเมตตา เป็นผู้ตัดสินโลกทั้งใบ เป็นผู้ประพันธ์และเป็นผู้ควบคุมโลก นับเป็นแนวคิดที่อ่อนแอซึ่งไม่สามารถทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ได้. ความคิดของมนุษย์ (เช่นนี้) จะต้องจางหายไป. พวกเขาให้สิ่งแทนพระผู้เป็นเจ้าแก่เรา แต่ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าที่มีชีวิตที่แท้จริง. เราต้องเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นศูนย์กลางของชีวิต ไม่ใช่เงาของพระองค์ที่สะท้อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์. พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นแสงสว่างที่ไม่รู้จักหมดสิ้นอยู่รายล้อมเราทุกด้าน. ปราโณ วิราฏ ("ชีวิตนั้นยิ่งใหญ่"). ซึ่งรวมถึงความคิดต่าง ๆ ที่ไม่น้อยไปกว่าสรรพสิ่งเลย. สิ่งเดียวกันเปิดตัวเองภายใต้แง่มุมที่แตกต่างกัน. เป็นหนึ่งเดียวที่สม่ำเสมอ นิรันดร์ มีความจำเป็น ไม่มีที่สิ้นสุด และทั้งมวลนั้นทรงพลัง. จากมันทั้งหมดที่ไหลออกมา. แล้วมันทั้งหมดก็ไหลย้อนกลับไป. ไม่ว่าคุณค่าทางอารมณ์โดยส่วนตัวของพระผู้เป็นเจ้าจะเป็นเช่นไร ความจริงก็จักสร้างมาตรฐานที่แตกต่างออกไปและเรียกร้องสิ่งที่เคารพบูชาที่แตกต่างออกไปด้วย. ไม่ว่า (ลัทธิเอกเทวนิยม-ลัทธิที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) จะดูเย็นชาและห่างไกล น่ากลัวและไม่น่าพอใจเพียงใด แต่ที่สุดแล้วมันก็ไม่ได้เป็นความจริงอีกต่อไป. ลัทธิเอกเทวนิยมซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นในทุกวันนี้ ได้ล้มเหลวในการทำให้เหล่านักคิดด้านพระเวทพึงพอใจ.
       พวกเขาใช้หลักการกลาง ๆ ของคำว่า สัต เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันอยู่เหนือเพศ. ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามีอยู่จริง ซึ่งพระอัคนี พระอินทร์ พระวรุณ ฯลฯ นั้น เป็นเพียงรูปหรือชื่อเท่านั้น. ซึ่งสิ่งนั้นมีอยู่ ไม่มากนัก แต่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความเป็นตัวตน เข้าปกครอง "เหนือทุกสรรพสิ่งทั้งที่ไม่เคลื่อนไหวและเคลื่อนไหว ทั้งที่เดินหรือเหินบิน มีชีวิตอยู่ด้วยกำเนิดที่แตกต่าง."2 "ความจริงซึ่งมีเพียงหนึ่ง ผู้ที่ได้เรียนรู้แล้วได้เรียกในชื่อที่ต่าง ๆ กันว่า พระอัคนี พระยม และพระมาตริศวัน."3
       สรวงสวรรค์ที่มีดวงดาวส่องสกาวและผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ ท้องทะเลและเนินเข้าที่ยาวจรดไม่มีที่สิ้นสุด,

              ล้วนเป็นกิจของจิตที่เป็นหนึ่ง เป็นคุณสมบัติ
              อันมีใบหน้าที่เหมือนกัน เบ่งบานอยู่บนต้นไม้เดี่ยว
              เป็นคุณลักษณะแห่งการเปิดเผยซึ่งได้พยากรณ์ไว้อย่างยิ่งใหญ่
              เป็นรูปแบบและสัญลักษณ์แห่งนิรันดร์
              เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายและในท่ามกลางและไม่มีที่สิ้นสุด
.4
---------------

1. Ko dadarśa Prathamā jāyamānam? โก ดาดาศ ประถมา ชายมานัม? (को ददर्श प्रथमा जयमानं?) อยู่ในฤคเวท บรรพที่ 1. สรรคที่ 164. 4.
2. บรรพที่ 3 สรรคที่ 54. 8.
3. เอคัม สัด วิปรา บหัธา วตันติ อัคนิม ยะมัน มาตริศวานัม อาหู (บรรพที่ 1. สรรคที่ 164. 46).
4. เวิร์ดสเวิร์ธ พรีลูด 6.


 
95
       หนึ่งเดียวนี้เป็นดวงวิญญาณของโลก เป็นเหตุผลที่มีอยู่จริงในจักรวาล เป็นแหล่งกำเนิดของธรรมชาติทั้งมวล เป็นพลังงานนิรันดร์. ไม่ใช่ทั้งสวรรค์และโลกมนุษย์ ไม่ใช่ทั้งแสงสุริยะและพายุ แต่ทว่าเป็นแก่นแท้อีกประการหนึ่ง บางทีฤทธา ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วนั้นคือ อทิติที่รับไว้ซึ่งจิตวิญญาณ ผู้ซึ่งหายใจอย่างไร้ลมหายใจ.1 เราไม่สามารถมองเห็นได้ เราไม่สามารถอธิบายได้อย่างเพียงพอ. ด้วยความจริงใจที่สัมผัสได้ กวีกล่าวสรุปว่า: "เราจะไม่มีวันได้เห็นผู้ให้กำเนิดสิ่งเหล่านี้เลย." "ฉันเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ฉันจึงถามหาที่ซ่อนของเหล่าทวยเทพ - เมื่อไม่พานพบ ฉันจึงได้ถามปราชญ์ที่อาจพบได้ จากสิ่งที่ไม่รู้ก็จะรู้ได้."2 มันเป็นความจริงอันสูงสุดซึ่งดำรงอยู่ในทุกสรรพสิ่งและขับเคลื่อนทุกสิ่งอัน (เสมือน) เป็นความจริงที่สดใสบนดอกกุหลาบ แตกช่องดงามในก้อนเมฆ แสดงความแข็งแกร่งท่ามกลางพายุ และได้วางตั้งเป็นดวงดาวบนท้องนภา. ณ ที่นี่เรามีการหยั่งรู้ได้ถึงพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง ซึ่งในบรรดาเหล่าเทพทวยเทพนั้นเป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ช่างมหัศจรรย์ในทุก ๆ วัน ช่างแสนวิเศษด้วยมันเป็นรุ่งอรุณของประวัติศาสตร์ด้านจิตใจซึ่งได้เห็นถึงโลกทัศน์ที่แท้จริง. ในการปรากฎตัวของความจริงหนึ่งเดียวนี้ ทำให้ความแตกต่างระหว่างชาวอารยันกับชาวดราวิเดียน01 ชาวยิวกับพวกนอกศาสนา ชาวฮินดูกับชาวมุสลิม และพวกเพแกน02. กับคริสเตียน ล้วนเลือนหายไป. เราซึ่งมีโลกทัศน์ชั่วขณะเกี่ยวกับอุดมคติ ที่ซึ่งศาสนาทางโลกทั้งหมดล้วนเป็นเพียงเงาที่ชี้ไปยังวันที่สมบูรณ์แบบ. ที่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ (วันหรือยุคพระศรีอาริย์ ). "เหล่านักพรตและเหล่ากวีได้ใช้คำพูดสร้างความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งเดียว."3  มนุษย์ผูกพันกับการสร้างความคิดที่ไม่สมบูรณ์ของความจริงแท้อันไพศาลนี้. ดูเหมือนว่าความปรารถนาภายในจิตวิญญาณของเขานั้น จะพึงพอใจกับความคิดที่ไม่เพียงพอ ซึ่งก็คือ "รูปเคารพที่เรานับถือบูชา." ไม่มีเทวรูปสององค์ที่จะเหมือนกันทุกประการ เนื่องจากไม่มีใครสองคนที่จะมีแนวคิดเหมือนกันทุกประการ. มันช่างเป็นเรื่องโง่เขลาที่จะมาทะเลาะกันเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่เราพยายามแสดงให้เห็นว่ามันจริงแท้. พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวถูกเรียกแตกต่างกัน ไปตามวง (ความคิด) ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพระองค์ได้ทรงงานหรือมีรสนิยมหลากหลายของดวงวิญญาณที่เฝ้าแสวงหา. สิ่งนี้มิได้ถูกมองว่าเป็นที่พำนักอันคับแคบต่อศาสนาอันเป็นที่นิยม. เป็นการเปิดเผยความจริงทางปรัชญาอันลึกซึ้ง. สำหรับอิสราเอลแล้ว การเปิดเดียวกันนี้เกิดขึ้น: "พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้าเป็นองค์เดียวกัน."
หมายเหตุ การขยายความ

01. ชาวดราวิเดียน (Dravidian - द्रविड़) ทราวิฑ หรือ ทราวิฑะ (สันสกฤต: Drāviḍa) หรือ มิลักขะ (สันสกฤต: Milakkha) หมายถึง ชาวทมิฬเดิมอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธุมานานกว่า 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล ปัจจุบันได้ถอยร่นมาอยู่แถบอินเดียใต้ (กลุ่มภาษาทมิฬ เตลูกู ฯ ) และบางส่วน (ทางเหนือ) ของเกาะลังกา.
02. เพแกน (Pagan) เป็นกลุ่มคนนอกรีตในลัทธิที่กระจายอยู่ในยุโรปช่วงยุคจักรวรรดิโรมัน (จักรพรรดิคอนสแตนติน ก็เป็นชาวเพแกน) ก่อนที่จะมีคริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแพร่ เน้นความกลมกลืนและอยู่กับธรรมชาติ แยกตัวออกจากชุมชน หาสมุนไพรรากไม้ในป่าเขาเพื่อมาทำยา จนชาวบ้านทึกทักว่าเป็นพวกแม่มดพ่อมด ถูกจับนำมาเผาทั้งเป็นจำนวนมาก บ้างก็ว่าเป็นจำนวนถึงห้าหมื่นถึงแปดหมื่นคน อ้างอิงจากนวนิยายเบสท์เซลเล่อร์เรื่อง "ดาวินชี โค้ด" ของแดน บราวน์ .
---------------
1. บรรพที่ 10. 129. 2.
2. ฤคเวท บรรพที่ 10 สรรคที่ 121; บรรพที่ 10 สรรคที่ 82. 7; บรรพที่ 1 สรรคที่ 167. 5-6.
3. บรรพที่ 10. สรรคที่ 114; ดูเพิ่มเติมในยชุรเวช บรรพที่ 30. สรรคที่ 2. 4. ดูใน นิรุกตะของยาสกะ (Yāska’s Nirukta) บรรพที่ 7 สรรคที่ 5.


96
พลูทาร์ก01. กล่าวว่า: "มีพระอาทิตย์ดวงเดียวและมีท้องฟ้าผืนเดียวเหนือทุกชาติ และมีเทพเพียงองค์เดียวภายใต้ชื่อต่าง ๆ มากมาย."
              โอ! พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสง่าราศีเป็นเลิศ ทรงมีหลากหลายพระนาม
              พระราชาที่ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ แม้ว่าปีแล้วปีเล่าอันไม่มีที่สิ้นสิ้นสุด (พระองค์) ทรงเหมือนเช่นเดิม
              ทรงมีมหิทธานุภาพทุกอย่าง ตามที่สูเจ้ากำหนด
              ทรงควบคุมไว้ทั้งหมด ทรงโอภาปราศรัย (ดั่ง) มหาเทพซุส สำหรับสูเจ้า
              เป็นหน้าที่ที่สรรพชีวิตสูเจ้าในทุกผืนแผ่นดินที่เรียกขาน.
1
             จากทฤษฎีที่ว่ามีเพียงปัจจัย (เอกนิยม - การมีมาตรฐานเดียว) ของฤคเวท ซึ่งเดสเซนได้เขียนไว้ว่า: "เมื่อชาวฮินดูได้มายัง (ได้ศึกษา) ลัทธิที่มีเพียงปัจจัย ด้วยวิธีที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ . ก็มีลัทธิเอกเทวนิยมที่ได้รับมาจากอียิปต์โดยได้ระบุกลไกของเทพเจ้าในท้องถิ่นต่าง ๆ ส่วนในปาเลสไตน์ก็โดยการบัญญัติของเทพเจ้าอื่น ๆ "

หมายเหตุ การขยายความ
01. พลูทาร์ก (Plutarch) (ราว พ.ศ.589 - ราว พ.ศ.663) เป็นชาวกรีก ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพลเมืองโรมัน เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ เป็นนักปรัชญาสำนักเพลโต.
---------------
1. บทสวดแห่งการชำระล้าง.
2. เค้าโครงปรัชญาอินเดีย, เอ็ม หิริยานนะ, หน้าที่ 13.
3. ร.ห.อ. (ระบบทั้งหกของปรัชญาอินเดีย, มัคซ์ มึลเล่อร์) หน้าที่ 51, 52.



 
info@huexonline.com