MENU
TH EN

1. จักรยาน: การเติบโตและพัฒนาการ (พ.ศ.2419)

1. จักรยาน: การเติบโตและพัฒนาการ (พ.ศ.2419)
First revision: Dec.24, 2013
Last  Change: Dec.08, 2014
 
ด้วยจริต ด้วยความหลงไหล และด้วยความนิยมส่วนตนที่ได้ปั่นจักรยานเป็น และได้ปั่นมาตลอด จำได้ถึงช่วงการหัดปั่นจักรยาน หัวมุดคะม่ำเข้าไปในร่องสวนร่องคูน้ำข้างถนน แต่ก็ไม่รู้สึกเจ็บอะไร จำเลา ๆ ว่าอายุไม่น่าจะถึง ๑๐ ขวบ ที่ถนนกาญจนา ๒ อ.เมือง จว.ยะลา (ราว ๆ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖)
 
ผมได้ยินชื่อจักรยาน 'ราเล่ย์' มาตั้งแต่เล็ก ๆ  ว่าเป็นจักรยานที่มีคุณภาพราคาแพง โดยมีคุณตาและป้าเป็นผู้ปั่นจักรยานราเล่ย์คู่กายเป็นนิจ.

ผมยังจำเสียงแต๊ก ๆ ๆ ของเกียร์จักรยานราเล่ย์ได้ราวกับได้ยินมาเมื่อชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง โดยคุณตาจะให้ผมนั่งบนเก้าอี้หวาย ตรงท่อนอนจักรยาน ผมจำได้ตลอดจวบจนปัจจุบัน หวลระลึกบรรยากาศในช่วงนั้นได้ดี และจะขอจดจำไว้จนกว่าชีวีจะหาไม่.

บทความนี้ แปลและเพิ่มเสริมปรับปรุงมาจาก www.oldbike.eu และ oldbike.wordpress.com เป็นหลัก.

ต้องขอขอบพระคุณเจ้าของ web site ดังกล่าวมา ณ ที่นี้

ประโยชน์อันใดที่ผู้อ่านได้รับจากข้อมูลในเว็บไซต์นี้ กระผมใคร่ขออนุญาตให้เป็นบุญเป็นกุศลส่งตรงไปยัง คุณตา "ประเสริฐ กาญจนบุษย์" และป้าจินดา "นางสาวจินดา กาญจนบุษย์" ซึ่งสถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ด้วยเทอญ.

จาก
หลานโต้ง
อภิรักษ์ กาญจนคงคา

ปล. บทความที่จะแสดงต่อไปนี้ ได้ปรับปรุง เพิ่มเติม เสริม ตัดทอนและคัดลอกมาจากข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง กระผมขอใช้ข้อมูลบนฐานที่มีอยู่เท่าที่รวบรวมได้ ในมุมมองของภาษาอังกฤษและผู้เขียนที่เป็นชาวอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นอาจจะมีข้อมูลไม่มากนักที่เป็นจักรยานของประเทศอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศส (Ch.Gras, Grififths, Peugeot, Mane'ge Central, Rochet, Terrot, Lucifer, Manufrance Hirondelle, Sanpene) เยอรมนี (Schwinn, N.S.U., Herrenrad Victoria) อิตาลี (Bianchi, Colnago, Masi) เป็นต้น. ซึ่งท่านผู้สนใจ สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้.

ดังนั้นบทความในเว็บไซต์นี้. จึงยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นักในแง่ของวิวัฒนการจักรยานของโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เป็นที่ทราบกันในหมู่ผู้สนใจจักรยานโบราณว่า ยุคทองของจักรยานโบราณที่แท้จริง (ช่วงคริสตศวรรษที่ ๑๙-๒๐) นั้น อยู่ในสหราชอาณาจักร.

หากท่านใด ประสงค์จะชี้แนะ เพิ่มเติม เสริม ปรับปรุง ตัดทอน แก้ไข เพื่อให้บทความในเว็บไซต์ huexonline.com นี้ มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ท่านสามารถส่งข้อมูลและ/หรือภาพและ/หรือไฟล์ที่เกี่ยวข้อง มาได้ที่ info@huexonline.com
หรือ www.facebook.com/human.excellence จักเป็นพระคุณยิ่งครับ.
 
1. การเติบโตและพัฒนาการของจักรยาน (พ.ศ.๒๔๑๙)

          ผู้เขียน (www.oldbike.wordpress.com) ได้สำเนาหน้ากระดาษมาส่วนหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของจักรยาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ (หรือ ค.ศ.1876) มีบทความที่น่าสนใจแสดงให้เห็นถึงประวัติของจักรยาน ก่อนที่จะมีวิวัฒนาการด้าน "ระบบความปลอดภัยของโรเวอร์-The Rover Safety" และ "เส้นยางของดันล้อป-Dunlop Tyres"  และทำให้คนธรรมดาทั่ว ๆ ไป สามารถเข้าถึงและครอบครองเป็นเจ้าของจักรยานได้
 
Bicycling: its Rise & Development (1876)
 
 
 
บทที่ 1: การกำเนิดของจักรยาน (The Birth of the Bicycle)

          ไม่ได้มีความหมายหรือการมีทักษะใด ๆ ที่จะเป็นเพียงสำหรับ "พ่อ(แม่)มด พร้อมทั้งขุนนางที่นั่งอยู่บนอาชา" เสียทั้งหมด และก็เป็นความจริงที่แน่ชัดแม้แต่ส่วนที่เป็นทั้งหมดของเรานั้นด้วย. เราได้รับการพร่ำสอนว่าเจ้าแห่งสงคราม (Mavors --> Mars) นั้นมีอาชาซึ่งเป็นสัตว์พาหนะของขุนนางและมีประโยชน์อเนกอนันต์ต่อมนุษยชาติ. ซึ่งได้อนุรักษ์ไว้ในใจ, ในฐานะที่เป็นส่วนอ้างอิง แม้ว่าจะไม่เป็นสิ่งจริงแท้ของจักรวาลก็ตาม. เรามีถนนที่ใช้สำหรับเดินทาง และไม่ได้เห็นบริการที่เป็นยวดยาน เหมือนชาติต่าง ๆ ที่เรารู้จักกันดี อย่างเช่น พาหนะที่เป็นช้าง อูฐ กวางเรนเดียร์ หรือแม้แต่นกกระจอกเทศ. ซึ่งใช้เวลาไม่มากนักในการถึงจุดหมาย และได้บทสรุปว่ามันต้องมี "วงล้อ (Wheel)" ที่รู้กันในชื่อของ "ลูกม้าน้อยของแชงค์ส์ (Shanks' pony)" และ "รถจักรยานสองล้อโบราณ-ใช้เท้าผลักยานให้เคลื่อนที่ (Velocipedes)" ซึ่งอาจจะมีทั้งสองล้อหรือสามล้อ ซึ่งสามารถศึกษาย้อนไปถึงคริตศตวรรษที่ ๑๘ ได้.
 
          
Velocipedes

        Velocipedes นั้นมีได้หลายล้อ (สองล้อ สามล้อ สี่ล้อ ห้าล้อ จนถึงหกล้อ ก็มี) ตามแต่ช่วงของการวิวัฒนาการของจักรยาน และสามารถบรรทุกได้สองคนหรือมากกว่านั้น นั่งตรงข้ามกัน นั่งหลังคนปั่นข้างหน้า (หรือปั่นด้วยกัน (Tandem)) หรือ นั่งปั่นหันหลังให้กันก็มี.

         ในปี พ.ศ.๒๓๖๑ (ค.ศ.1818) ก็ต้องขอยกเกียรติหรือให้เครดิตให้แก่หนังสือพิมพ์ The de'but (แปลว่า 'จุดเริ่มต้น') ซึ่งเป็นบิดาของเรื่องราวเกี่ยวกับจักรยานทั้งมวล ได้แสดงการ์ตูนเขียนล้อเลียน  ให้เห็นถึงประโยชน์ของงานศิลป์ชิ้นนี้ (จักรยาน) จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีทหารผ่านศึกท่านหนึ่งชื่อ "จอร์จ ครุกค์แช็งค์ (George Cruikshank)" ได้อธิบายจำแนกให้เห็นถึงประโยชน์อเนกอนันต์ของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (จักรยาน) นี้ขึ้น, และก็เป็นสิ่งที่เราเชื่อ ได้มีการตีพิมพ์ออกมา. และได้กระจายข่าวมาถึงกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร แสดงในหนังสือพิมพ์ "exploite'e" โดยมีผู้เขียนขยายต่อทีชื่อ Mr.Johnson และมีบรรดาศักดิ์ในระดับ "บารอน" จักรยานเริ่มมีนวัตกรรม และการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับจักรยานนั้น เริ่มแรกมีขึ้นที่กรุงปารีส และไม่ช้าก็มีการจดสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับจักรยานขึ้นในกรุงลอนดอน.

        ความนิยมในปั่นจักรยานของชาวลอนดอน ก็มาจากคุณลักษณะของตัวละครในนิยายหรือวรรณกรรมต่าง ๆ ของชาวปารีสหรือ "ปาริเซียน" นั่นเอง มีการออกแบบเครื่องแต่งกายในการปั่นจักรยานขึ่้นในปี พ.ศ.๒๓๖๑ (ค.ศ.1818) นั้นเอง และก็มีตัวการ์ตูนล้อเลียนในหนังสือพิมพ์ เป็นตัวการ์ตูนที่มีชื่อว่า "แดนดี้ (Dandy)" หรือ "ฮ็อบบี้ฮอร์ส (Hobby horse)" ขึ้น ที่มาจากความต้องการที่อธิบายไม่ได้และความเรียบง่ายของปารีเซียน มีบางคนได้กล่าวไว้ว่าจักรยานออกจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่ากลัวและน่ามหัศจรรย์ เนื่องจากประกอบด้วยวงล้อที่ทำด้วยไม้คู่หนึ่ง ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่า ๆ กัน การปั่นจักรยานแบบ Tandem ที่ปั่นกันไปคู่หน้า-หลัง ดูออกจะเป็นแฟชั่น มีบาร์หรือมีท่อนอนกลางเป็นไม้ มีม้านั่งสำหรับขี่ เสมือนหนึ่งเป็นการขี่ม้า พร้อมกับการวางใจในฝ่าเท้าที่จะสัมผัสพื้น (ยามที่ต้องการให้หยุด หรือค้ำกายไว้) แม้ว่าการปั่นจักรยานเช่นนี้ ดูจะมีความสบายในเชิงแรงโน้มถ่วงหรือ มีความสง่างามในการขับเคลื่อนที่สะท้อนมาจากผลงานของ Long Acre หรือ Rue St.-Denis ซึ่งเราก็สามารถยอมรับกับความสงสัยนี้ไว้ได้.
 
     การปั่นจักรยายแบบ Tandem
   
           มีผู้ได้กล่าวอ้างไว้ว่าการขับเคลื่อนด้วยจักรยานในยุคนี้ สามารถเคลื่อนไปได้เร็วด้วยอัตราสิบไมล์ต่อชั่วโมง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สมเหตุสมผล ต่อให้จักรยานวิ่งไหลลงมาจากเนินสูงมายังพื้นปกติก็ตาม ทั้งนี้ด้วยน้ำหนักของท่อนไม้หนา ๆ แรงเสียดทานที่มีต้านกำลังการเคลื่อนตัวขยับไปข้างหน้า ที่มาจากสภาพถนน ทำให้อัตราการเคลื่อนตัวของจักรยานมีไม่มากไปกว่าอัตราความเร็วในการเดินบนถนนของผู้คนทั่ว ๆ ไป.

           แม้ว่าจักรยานในยุคแรก ๆ ออกจะดูล้มเหลว และแม้ว่ามันจะเป็นความพยายามที่จะนำจักรยานไปให้บุรุษไปรษณีย์ใช้ประโยชน์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะรู้สึกเสียใจกับความล้มเหลวนี้ เว้นเสียแต่ Mr. Johnson แห่ง Long Acre ผู้คิดค้นริเริ่ม. มีการพัฒนาปรับใช้กำลังขับเคลื่อนด้วยเท้าโดยตรง ไปสู่ระบบการขับผลักส่งจากเท้าไปล้อ.

 
         ===>   
 
จักรยานในปี พ.ศ.๒๔๑๒ (ค.ศ.1869) ไปสู่จักรยาน "เดอะ โร้ดสเตอร์ส์" ในปี พ.ศ.๒๔๑๙ (ค.ศ. 1876).

          แต่มันก็จุดอ่อน(หรือมีสิ่งขัดขวาง) ในการจัดคันโยก (Levers ชั้นวางฟัน (Toothed racks) ฟันเฟืองและปีก (Cogs and pinions) ที่ซับซ้อน. มีแรงเสียดทานอยู่ในระดับที่เหมาะสม (Neutralized) เพียงแต่ออกแรงถีบไม่มากนัก และเพื่อให้จักรยานเคลื่อนตัวไปได้ บางครั้งผู้ปั่นจักรยานก็อาจต้องใช้ทั้งมือและเท้าด้วย. ในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๑-๒๓๗๔ (ค.ศ.1818-1831) ก็มีสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จากผู้ประดิษฐ์ที่เป็นชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกัน และชาวเยอรมัน ซึ่งไม่ถึงกับทำให้พัฒนาการของจักรยานก้าวกระโดดเท่าใดนัก.

          อานนั่งจักรยานจะเป็นแบบ "เกี้ยว (Sedan Chair)" ไม่มีฐานวางก้น เป็นคล้ายกันเป็นการขี่ม้าที่เรียกว่า "ขี่ม้าแบบไอริช (Irishman rode)" อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ.๒๔๐๕ (ค.ศ.1862) ก็มีอานหรือเกี้ยวแบบใหม่ขึ้น. มีการพัฒนาด้านเรื่องการเลี้ยวจักรยานให้ง่ายขึ้น ซึ่งปรากฎให้เห็นในสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ด้านจักรยานที่หลาย ๆ ประเทศประดิษฐ์ขึ้น. และชาวอเมริกันก็มีพัฒนาการล้ำหน้าเรา (อังกฤษ) ไปในครานี้. พัฒนาการด้านจักรยานนั้น  เริ่มลงตัวมากขึ้นและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว. เอ็ม.มิชูซ์ (M. Michaux) จากกรุงปารีส ได้รับเกียรติจากการจากการขยายล้อถีบจักรยาน และจักรยานแนวของเขานี้นั้นได้เป็นที่นิยมกันในประเทศฝรั่งเศสหลายปีต่อเนื่อง แต่โชคก็ไม่ดีนัก. มุมมองคนทั่วไปมองว่าผู้ปั่นจักรยาน (ซึ่งกำลังมีการเติบโตอยู่นี่) เป็นพวกเด็กเปิ่น ๆ (The hobbledehoy class), ซึ่งการปั่นโชว์ทุกวันอาทิตย์นั้น ดูจะเป็นอันตรายกับตนเองและทุก ๆ คน.  คนทั่ว ๆ ไปดูจะไม่ยอมรับการปั่นจักรยานกันนัก จนกระทั่ง เอ็ม.มากี้ (M. Magee) (ปาริเซียน) เลิกการใช้ไม้เป็นชิ้นส่วนหลักของจักรยาน หันไปใช้เหล็กและเหล็กกล้าแทน สำหรับจักรยานสองล้อ (Velocipedes)" จักรยานดูเบาขึ้น (แม้ว่าจะหนักอึ้ง เมื่อเทียบกับจักรยานยุคนี้) ดูสง่างามขึ้นมาก น่าใช้น่าปั่นกว่าที่เคยเป็นมา.

          ท้ายที่สุด จักรยานก็เป็นที่ยอมรับ ว่ามันมีอะไรน่าสนใจ จักรยานยุคนี้ สามารถทำความเร็วในการปั่นได้มากขึ้น ค้นพบการใช้ประโยชน์และความได้เปรียบนี้ นับเป็น เครื่องจักรกลยุคใหม่ของชาวฝรั่งเศส (The New French Machine) และได้รับการยอมรับให้เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านประหยัดเวลาและได้ระยะทางที่ไกลขึ้น.ทางฝั่งประเทศอังกฤษ ก็ตระหนักถึงประโยชน์ของจักรยาน สนับสนุนสิ่งประดิษฐ์ของ เอ็ม. มากี้ โดยนักอุตสาหกรรมที่มาจากเมืองโคเวนทรี้ (Coventry) ผลิตและขยายผลต่อ. ผลิตและปรับปรุงจักรยานให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุง "จักรกลด้านข้อเหวี่ยง (The Crank-action Machine)" เพื่อเป็น "ม้า" ใช้ปั่นยามว่างสำหรับราชนิกุล.

           ผู้ผลิตจักรยานที่เมืองโคเวนทรี้ สหราชอาณาจักร ได้นำเสนอการปรับปรุงที่เป็นสากลที่เรียกว่า "วงล้อแมงมุม (Spider wheel)" ด้วยล้อยาง ลดขนาดล้อหลังลง และขยายขนาดของล้อหน้าให้ใหญ่ขึ้น เติมเต็มความฝันที่เป็นไปได้ให้แก่ผู้ปั่นจักรยานทั้งหลาย และผลิตจักรยานที่มีน้ำหนักเบาลงกว่าเดิมมาก ดูสง่างาม เงียบและเร่งความเร็วได้ดี. จักรยาน "เดอะ นิวโร้ดสเตอร์" นี้มีน้ำหนักเพียง สี่สิบถึงห้าสิบปอนด์ (ประมาณ ๑๘.๒ - ๒๒.๗๓ กิโลกรัม) ในขณะที่จักรยานที่ผลิตจากโรงงานแบบเดิม ๆ นั้นมีน้ำหนักถึงแปดสิบถึงหนึ่งร้อยปอนด์ (ประมาณ ๓๖.๓๖ - ๔๕.๔๕ กิโลกรัม). 

           จักรยาน "วงล้อแมงมุม" รุ่นใหม่นี้ ล้อหน้ามีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๐ นิ้ว (ราว ๆ ๑๕๒.๔๐ ซม.) น้ำหนักต่ำกว่าสี่สิบปอนด์ (๑๘.๑๘ กิโลกรัม). มีความปลอดภัย นำมาใช้ได้จริง ๆ และจากจุดนี้เอง ผู้คนเริ่มเชื่อมั่นในจักรยานมากขึ้น. เริ่มมีการนำสปริง เบรคและเส้นยางที่ทำด้วยยางพารามาใช้ ลดความสูงชัน (น่ากลัว) ของจักรยานแบบเดิมลงมาครึ่งหนึ่ง และได้รับการทดสอบจากนักปั่นร่วมร้อย แสดงให้เห็นถึงประโยชนที่มากกว่าพวกฉลาด ๆ ที่ชอบจู้จี้ (จักรยานที่ดูดีตกแต่งมาก แต่ใช้ไม่ค่อยได้เรื่อง) จักรยานรุ่นใหม่นี้บริโภคเพียงน้ำมันหล่อลื่น ตามเฟืองตามโซ่เท่านั้น.

           จักรยานนั้นยืนหยัดจากการเยาะเย้ย (จากผู้คนบางกลุ่ม) ด้วยมีการเปลี่ยนรูปทรงหลากหลาย และด้วยความได้เปรียบที่เป็นไปได้จริงในทางปฏิบัตินัั้น ทำให้กลายเป็นสิ่งหนุนนำให้จักรยานเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน. แต่จักรยานก็ไม่ได้เข้าไปในจิตใจของผู้คนที่ดูถูกดูแคลนมัน. จักรยานได้รับการพัฒนาขึ้นมีแกนทิศการเคลื่อนตัวที่ถาวรขึ้น. มีการพัฒนาด้านการเคลื่อนของวงหรือห่วงล้อ มีการวัดแนวการหมุนของห่วงล้อ, และกลายเป็นที่จับตา เกิดความทึ่งขึ้นในหมู่ผู้สนใจ. ลีโอนาร์ด ยูเล่อร์ (Leonard Euler), นักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของศตวรรษที่ ๑๙, ได้เขียนในตำราทางคณิตศาสตร์ชื่อ De motu turbinis (หรือแปลเป็นไทยว่า กังหันที่ขับเคลื่อน), ซึ่งเขาได้แสดงถึงการเคลื่อนที่ด้านบน สามารถประยุกต์ไปยังการอธิบายถึงปรากฎการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของระบบโซล่า (The solar system): และเป็นเครื่องมือซึ่งเป็นหลักการด้านเครื่องกลเหมือน ๆ กัน ซึ่งสร้างความปรีดาทำให้เอื้อไปยังวัตถุประสงค์ของการมีอรรถประโยชน์ในการใช้งานได้จริง, อันเป็นบุญหนุนนำไปยังการประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันต่อไป.

          จักรยานนั้น, มีประวัติศาสตร์ของตัวจักรยานเอง, สามารถเขียนบรรยาย, แสดงการเปลี่ยนแปลง, และมีศัพท์เฉพาะ (แสลง) ของจักรยานเอง. จากฝั่งตะวันตกไกล (ของยุโรป-น่าจะหมายถึงอังกฤษ), เราได้เรียนรู้ขั้นตอนพัฒนาการต่าง ๆ ด้านความสามารถของจักรยาน - เป็นผู้เริ่มต้น เหมือนหนึ่งว่าเป็น "เด็กหัดเดินที่ขี้อาย-Timid toddlers", อุปมาความก้าวหน้าของจักรยานนั้น เริ่มจาก การโมโหโทโสที่ระแวดระวัง (Wary wobblers) ไปสู่ การก้าวย่างอย่างสง่างาม (Go-it-gracefuls), ซึ่งมุ่งไปสู่ความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบขั้นสูงสุดอย่างน่าอิจฉา และมีความหลากหลายแฟนซีอยู่ไม่น้อย (Fancy few).


 
info@huexonline.com